พุทธศาสนิกชนจำนวนมากเลย ที่หันไปปฏิบัติธรรมตามสายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปก็คือ คำโฆษณาที่ว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอก สายเดียวเท่านั้น ที่จะบรรลุพระอรหันต์ได้
สายใดยึดสติปัฏฐาน 4 เป็นหลัก ก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน สายอื่นๆ ไม่ใช่ และถ้าปฏิบัติตามแล้ว ภายใน 7 ปี บรรลุพระอรหันต์แน่ๆ
มีพระสูตรหนึ่ง ที่สาวกของสายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปชอบยกตัวอย่างเป็นประจำ อ่านหนังสือเล่มไหนๆ ของสายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปก็จะพบอยู่เสมอๆ
ส่วนใหญ่ยกมาเพื่อข่มสายสมถะกรรมฐาน สายพุทโธจะโดนบ่อยสุด สายวิชาธรรมกายก็โดนพอๆ กันกับสายพุทโธ
พระสูตรที่ว่าก็คือ อานาปานสติสูตร ซึ่งมีเนื้อความดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
อานาปานสติสูตรนี่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าอ่านแล้วทำใจให้เป็นกลางๆ จะเห็นว่า อานาปานสติสูตรกล่าวไว้ชัดเจนเลยว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นฐานให้โพชฌงค์ 7
และก็ยังย้ำอย่างชัดเจนว่า การจะบรรลุพระอรหันต์ต้องบำเพ็ญวิชชา ซึ่งก็คือ วิชชา 3 ถึงจะบรรลุวิมุตติ ซึ่งทำให้พระอรหันต์ทราบว่า พระองค์ท่านบรรลุพระอรหันต์ด้วยตัวท่านเองแล้ว
จากอานาปานสติสูตรที่สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปชอบยกตัวอย่างก็แสดงเนื้อหาให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คำโฆษณาที่ว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอก สายเดียวเท่านั้น ที่จะบรรลุพระอรหันต์ได้นั้นไม่เป็นความจริง สติปัฏฐาน 4 เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น
แล้วการที่ชอบยกเนื้อหาในส่วนท้ายของพระสูตรนี้ที่ว่า อย่างช้าภายใน 7 ปี บรรลุพระอรหันต์แน่ๆ ที่ทำให้คนหลงเชื่อไปปฏิบัติตามสายนี้เป็นจำนวนมาก ก็ละเลยเรื่องบารมี 30 ทัศไปเสียสิ้น
ใครก็ตามบำเพ็ญบารมีครบ 30 ทัศน์แล้ว ก็สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ทุกคน
การบรรลุพระอรหันต์น่ะไม่ยาก บางคนพระพุทธเจ้าตรัสคำ 2 คำ ก็บรรลุแล้ว มันยากตรงตอนสร้างบารมี สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปนี่ ไม่เคยกล่าวถึงเรื่องบารมี 30 ทัศน์
ผมจึงยังสงสัยอยู่อีกว่า สานุศิษย์ของสายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูป อ่านหนังสือกันไม่แตกหรือไง ถึงไม่เข้าใจ
หรือจะเข้าใจดี แต่ ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่ไปเชื่อพระพม่า ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาพุทธถึงได้บิดเบือนไปได้ขนาดนั้น
โดยสรุป
ศรัทธา ความเชื่อ ความงมงาย ก็คือ ความเชื่อทั้งหมด แต่ภาษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์จึงกำหนดให้ใช้แตกต่างกันไป ศรัทธาใช้กับความเชื่อในทางศาสนา ความเชื่อก็ใช้อย่างกลางๆ ส่วนงมงายใช้กับความเชื่อที่ไม่ค่อยยอมรับกันในทางวิชาการหรือในทางวิทยาศาสตร์
ก็มาถึงคำสุดท้ายคือ “ความจริง”
ในเมื่อ "ศรัทธา", "ความเชื่อ", และ "ความงมงาย" ก็คือ ความเชื่อทั้งหมด แล้วแต่ว่า “สิ่ง” ที่พวกเขาเหล่านั้นเชื่อ เป็นความจริงหรือไม่
แล้วคำไหนล่ะที่ตรงกับความจริง
ที่ผมเกริ่นมาตั้งแต่แรกๆ เลย ก็คือ คำว่า “วิชาการ” ในงานทางวิชาการนี่ พวกนักวิชาการจึงมีอำนาจมากกว่าพวกอื่น
พวกนักวิชาการส่วนใหญ่มี “ศรัทธา/ความเชื่อ/ความงมงาย” ในวิทยาศาสตร์ในเรื่องใด พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นรวมถึงสาวกของวิทยาศาสตร์ด้วยก็จะบอกว่า “เรื่องนั้นๆ” เป็น “ความจริง”
ถ้าไม่ใช่ของนักวิชาการก็จะบอกว่า “เรื่องนั้นๆ” เป็น “ศรัทธา/ความเชื่อ/ความงมงาย” ไปแล้วแต่กรณี
ขอยกตัวอย่างซักนิดก็แล้วกัน
เมื่อประมาณหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อเริ่มมีการหาเสียงเลือกตั้งหลังจากการปฏิวัติโดย คมช. ผ่านพ้นไปแล้ว
ที่จังหวัดนครสวรรค์มีข่าวว่า หัวคะแนนคนหนึ่งถูกยิงที่ศีรษะจำนวน 4 นัด จนสลบไป คนร้ายที่นอกจากจะถือปืนมาแล้ว ยังมีไม้มาด้วย คือ วางแผนมาฆ่าให้ตายแน่ๆ
อาจจะรู้ว่า คนๆ นี้หนังเหนียวมาก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ ถึงต้องเตรียมไม้มาด้วย รู้สึกว่า คนร้ายมากัน 4 คน
เมื่อเห็นว่า หัวคะแนนผู้นั้นล้มฟุบและสลบไป ผู้ร้ายก็คิดว่า ตายแล้วจึงได้หลบหนีไป
พวกที่ชอบอิทธิปาฏิหาริย์ก็นำมาถกเถียงกันในเว็บไซต์ ก็ว่ากันไป สาวกวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ยืนยันอย่างหัวชนฝาว่า “ลูกปืนชื้นหรือเสื่อมสมรรถภาพหรือลูกปืนมันด้าน” ทำนองนี้
เพื่อนผมคนหนึ่ง ถึงกับหลุดปากออกมาว่า “บิดามันเถอะ ลูกปืนมันจะด้านพร้อมกัน 4 นัดได้ยังไง และคนร้ายมันเตรียมมาฆ่า ไม่ได้มาล้อเล่นกัน แล้วกระสุนปืนมันก็แรง จนคนถูกยิงถึงกับสลบไป ลูกปืนมันจะชื้นจะด้านยังไง”
นี่ก็เป็นตัวอย่างของความงมงายในวิทยาศาสตร์
ส่วน ความศรัทธา/ความเชื่อ ของสานุศิษย์ของสายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปที่เชื่อว่า การทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอๆ ในการพิจารณาอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยตามคำสอนของพระพม่า
โดยปฏิเสธการเห็นทั้งหมดนั้นสามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้ ทั้งๆ ที่ขัดกับพระไตรปิฎก ขัดกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ก็เป็นความงมงายในศาสนาพุทธตัวจริงเสียงจริงนั่นแล....
หรือใครจะเถียง........
บทความในชุดเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น