นักวิชาการต่างๆ เหล่านั้น หลายๆ ท่านใช้คำชุดดังกล่าวในความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
แต่ผมจะชี้ให้เห็นว่า ความหมายของคำทั้ง 4 คำดังกล่าวในทุกวันนี้ มีความหมายที่ซ้อนทับกันอยู่อย่างสลับซับซ้อน
บางคนบางท่านอาจจะเริ่มต้นสงสัยตามแบบของมนุษย์ที่มีแนวโน้มไปในทางฉลาดว่า ทำไมจะต้องเป็นความเห็นของนักวิชาการด้วย เป็นพ่อค้าแม่ขาย สามล้อ คนขายหวย หรือมอเตอร์ไซค์ปากซอยบ้างไม่ได้หรือไง
ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่า ทำไมการสงสัยจึงเป็นคุณสมบัติของคนฉลาด
ความรู้อันนี้ก็มาจากประสบการณ์ การอ่านหนังสือ และการเรียนรู้ คนที่ชอบสงสัยมักจะเป็นคนฉลาดเสมอ
นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาที่ดังๆ ทั้งหลาย สามารถคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ทฤษฎีใหม่ๆ ได้ ก็เป็นพวก “ลูกอีช่างสงสัย” ทั้งนั้น สงสัยไปทุกเรื่องทุกราว สงสัยจนน่ารำคาญในบางที
เมื่อสงสัยแล้วก็ต้องคิดค้นเพื่อแก้ข้อสงสัย การกระทำเหล่านั้นเป็นลักษณะของคนฉลาด
คนที่ชอบสงสัยแต่เป็นคนโง่ ก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ไม่มากนัก เพราะ ธรรมชาติของพวกคนโง่นั้น พวกนี้มักไม่ค่อยสงสัยอะไร
ใครพูดอะไรหรือชักชวนให้ทำอะไร ถ้าคนพูดมีการแต่งตัวที่ดี เช่น ใส่สูท ผูกเน็กไท เป็นต้น หรือเป็นคนที่น่านับถือ เช่น พวกสมัคร ส.ส. หรือเป็นพระภิกษุ เป็นต้น
กลุ่มบุคคลพวกนี้ก็จะเชื่อโดยไม่ตั้งข้อสงสัยอะไรเลย
พวกนี้จึงถูกหลอกอยู่เป็นประจำ ถูกหลอกซ้ำ หลอกซ้อน จนเขาขึ้นไปอยู่บนหัว เป็นวัว เป็นควายก็ยังไม่รู้ตัว
เมื่อเข้าใจความแตกต่างระหว่างคนโง่กับคนฉลาดแล้ว ก็ต้องมาอธิบายต่อว่า ทำไมต้องเป็นนักวิชาการด้วย
อันนี้ก็ต้องขอตอบว่า การมาถกเถียงกันด้วยเรื่องต่างๆ เพราะ ความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้าง ตรงกันบ้าง มันเป็นปกติวิสัยของนักวิชาการ
พวกพ่อค้าแม่ขายเขาไม่ค่อยมาสนใจในเรื่องนี้ ถ้าจะถกเถียงกัน พวกพ่อค้าแม่ขายก็จะถกเถียงกันเรื่องทำมาหากิน เรื่องพระเอก นางเอก นางโกงของละครน้ำเน่า อะไรทำนองนั้นเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการก็มีหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับที่ร่องของมันสมองตื้นมากๆ แบบลายของลูกฟุตบอล พวกนี้ ก็ดีกว่าคนโง่นิดเดียว บางทีพิจารณาไม่ออกเหมือนกันว่า ไอ้หมอนี่มันโง่หรือมันฉลาดกันแน่
การกระทำที่ดูเหมือนจะออกมาในแนวทางฉลาด คือ มีการมาถกเถียงกันคล้ายๆ นักวิชาการ แต่คำพูดหรือข้อเขียนนี่มันแสดงความโง่ชัดๆ
อยากจะเห็นตัวอย่าง ก็ไปหาอ่านได้ในศาสนาคาเฟ่ ในเว็บไซต์ของประเทศไทยนี้แหละ ก็จะมีบุคคลจำพวกนี้ ออกมาแสดงความคิดเห็นอยู่เป็นจำนวนมาก
ประมาณร้อยละ 90 ของคนที่มาออกความคิดเห็นก็แล้วกัน
สำหรับนักวิชาการที่มีระดับของร่องสมองลึกๆ ที่แสดงว่าเป็นคนฉลาด พวกนี้พิจารณาได้ว่า มักจะมีการค้นคว้าหาสิ่งอ้างอิง การถกเถียงหรือข้อเขียนก็มีความเป็นเหตุผล (Rationality)
มีหลักมีเกณฑ์ มีความคิดเป็นของตนเอง นี่ก็ชี้ให้เห็นว่า บุคคลเหล่านี้ น่าจะเป็นนักวิชาการที่มีความฉลาด
ขอยกตัวอย่างอีกนิดหนึ่ง
เอาตัวอย่างในเว็บไซต์ของประเทศไทยอีกก็แล้วกัน
จะมีบางคนพยามยกพระสูตรหรืออรรถกถามาสนับสนุนความคิดเห็นของตน ยกมาอย่างยืดยาว ทำการเน้นสีอย่างดี ถ้าใส่เสียงได้ก็คงจะมีการเน้นเสียงด้วย
แต่ไม่อธิบายเลยว่า ไอ้ที่ยกมานั้นมันสนับสนุนข้อเขียนของตนเองอย่างไร ที่สำคัญก็คือ ไม่เคยมีการบอกว่า แนวคิดของตนเองเป็นอย่างไร
พวกนี้มันเป็นพวก “ลอก” ตะบัน ลอกแม้กระทั่งความคิด เรียนหนังสือจบมาได้ก็คงเป็นเพราะลอกเพื่อนนั่นแหละ
ในหลายๆ ครั้ง ข้อเขียนที่ยกมาเป็นหลักฐานที่อ่อนมาก เพราะ เป็นข้อความที่แต่งใส่เข้าไปภายหลัง
ด้วยความโง่ของตนเองก็ไม่รู้ว่า ที่ยกมานั้นมีความเป็นมาอย่างไร ก็นำมาสนับสนุน บางครั้ง ไอ้ที่ยกมาก็ไม่ได้สนับสนุนการถกเถียงที่ดำเนินอยู่เลยก็มี
แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้ว คนที่ไปร่วมหัวจมท้ายอยู่ในเว็บดังกล่าว มันโง่ประมาณร้อยละ 90 โง่กับโง่เจอกันก็เลยไม่รู้ว่า กำลังเถียงกันด้วยเรื่องโง่ๆ ตามประสาคนโง่อยู่...
บทความในชุดเดียวกัน